แรงงาน พม่า ลาว กัมพูชา ที่ไม่มีเอกสารอะไรเลย และต้องการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เราสามารถดำเนินการให้ถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว
MOU คือ ข้อตกลงการส่งแรงงานจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย โดยบริษัทจัดหางานในประเทศต้นทางจะเป็นผู้คัดเลือกแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการ ทำเรื่องพาสปอร์ต และวีซ่า แล้วจึงจัดส่งแรงงานมาให้นายจ้าง
การจ้างงานแบบ MOU ดีกว่า การหาจ้างแรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะว่ามีสัญญาค้ำประกันรับรองคุณภาพแรงงาน เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน – 1 ปี ซึ่งหากลูกจ้างมีความประพฤติไม่เหมาะสม แอบหลบหนี หรือทำผิดเงื่อนไขสัญญา ทางบริษัทจะส่งแรงงานรายใหม่มาให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
การนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานอย่างถูกกฎหมายตาม MOU สัญชาติลาวและกัมพูชา
ขั้นตอนการนำเข้าสัญชาติลาวและกัมพูชา
1. นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด แต่หากเป็นนายจ้างเดิมที่มีโควตาเหลือเพียงพอกับจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ต้องจ้างใหม่ให้ใช้โควตาเดิม
2. ยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
3. นายจ้างนำบัญชีรายชื่อ (Name List) มายื่นขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อรวบรวมรายชื่อและแจ้งไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต้นทาง และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้ดำเนินการตรวจลงตราวีซ่าให้แก่คนต่างด้าว และให้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้
4. เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา และได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ประเทศไทยแล้ว หลังจากเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จะต้องไปตรวจโรคและมายื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
ขั้นตอนการนำเข้าสัญชาติพม่า
1. นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด แต่หากเป็นนายจ้างเดิมที่มีโควตาเหลือเพียงพอกับจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ต้องจ้างใหม่ให้ใช้โควตาเดิม
2. ยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
3. การคัดเลือกแรงงาน การขอรับการตรวจลงตราวีซ่า และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
- สำนักงานจัดหางานจังหวัด แจ้งให้นายจ้างเดินทางไปสัมภาษณ์และคัดเลือกแรงงานที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติและนำเข้าพม่า
- ทางการพม่าออกหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary passport) ให้แก่แรงงานพม่าที่ได้รับการคัดเลือกจากนายจ้างไทย และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงาน (Name List) ให้กับนายจ้าง เพื่อนำไปขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant L-A) และประทับตราอยู่ในราชอาณาจักร ณ ด่าตรวจคนเข้าเมือง
4. เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) และได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยแล้ว ให้นายจ้างพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น